ขบวนการประชาสังคมในทัศนะของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คือ
เครือข่ายของ "กลุ่ม องค์กร" ที่เชื่อมระหว่าง "รัฐากับ "ปัจเจกชน"
ความต่างของความสัมพันธ์ของเครือข่ายประชาสังคมกับรัฐ และรัฐกับ ตัวปัจเจก ก็คือประชาสังคมต้องไม่ยอมให้รัฐครอบงำบงการ แม้จะยอมรับความ ช่วยเหลือจากรัฐ และทำงานร่วมกับรัฐได้ แต่ก็ไม่เน้นความขัดแย้ง หากเน้นการประสานร่วมมือแทน ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้ว
ดังนั้น การเคลื่อนไหวของประชาสังคมต้องไม่เน้นการทำงานผ่านรัฐ เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจรัฐ ลดภาระหน้าที่ของรัฐ ทำให้รัฐเล็กลง กระฉับกระเฉงขึ้นในการทำหน้าที่หลักสำคัญๆ ของรัฐเท่านั้น
นั่นคือขบวนการประชาสังคมต้องยื้อแย่งการทำนโยบายจากรัฐ และ ช่วงชิงผลประโยชน์มาสู่ส่วนรวมที่มิใช่รัฐให้มากขึ้น การรวมกลุ่มที่ว่านี้ต้องเป็นการรวมกลุ่มของคนแปลกหน้า มิใช่กลุ่มเฉพาะคนใกล้ชิด เป็นการรวม ตัวอย่างสมัครใจไม่บังคับ สามารถเข้าออกจากการเป็นสมาชิกได้อย่างเสรี และ ต้องมีลักษณะการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม
ในเมื่อประชาสังคมเป็นอะไรที่ไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่ธุรกิจ ไม่ใช่องค์กรปกครอง ท้องถิ่น แต่คือองคาพยพที่ 4 ของประเทศ อันประกอบด้วย หนึ่ง รัฐ หรือรัฐบาลสอง องค์กรปกครองท้องถิ่น สาม ตลาดหรือภาคเอกชน สี่ ประชาสังคม
ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ อยู่ตรงที่ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้ท้าทายขบวนการประชาสังคมที่ขาดฐานคิด ความเข้าใจในจินตภาพองค์รวมของ สังคมที่พึงปรารถนา เขายกตัวอย่างประชาสังคมในมุมมองตะวันตกมาสังเคราะห์ให้เห็นความเคลื่อนไหวภาคพลเมืองอย่างเป็นขบวนการ
การหยิบความคิดเทลงในจิตสำนึกได้อย่างมีพลัง เท่ากับว่าได้ทำหน้าที่
พลเมืองของประเทศนี้ได้สมบูรณ์แล้ว