นอกเหนือจากการวิเคราะห์ตะวันตกในเชิงวิพากษ์แล้ว นักคิดในแนวหลังอาณานิคมส่วนหนึ่งยังเรียกร้องให้ชบชาติดางๆ (ที่ไม่ไช่ตะวันตก) ค้นหาเอกลักษณ์ (identry) ของตนเอง เพื่อสลัด อิทธิพลตะวันตกที่ได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ภายในตัวตน ดังเห็นได้จากการกระตุ้นให้หวนคืนสู่ "รากเหง้า" ทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่แต่เดิมก่อนรับอิทธิพลตะวันตก หรือการให้ความสำคัญกับ "ภูมิปัญญา" ท้องถินที่ปลอดจากอิทธิพลนั้น
อันว่ากระแส "พื้นเมืองนิยม" (nativism) และ "ท้องถิ่นนิยม" (otelisnt) เหล่านี้มีปัญหาให้ต้องใคร่ครวญอย่างรอบคอบเนื่องจากอัตลักษณ์ดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้นได้สูญหายไปเสียเป็นส่วนมากภายใต้การครอบงำมานานกว่าสตวรรษของตะวันตก บ่อยครั้งจึงต้องมีการ "ประดิษฐ์" ขึ้นมาใหม่ ในลักษณะปลอมๆ
อีกทั้งหากแม้นว่าสามารถค้นพบอัตลักษณ์ดั้งเดิมได้จริง จำเป็นด้วยหรือว่าอัตลักษณ์ดังกล่าวจะยังมีคุณค่าเป็นที่พึงปรารถนามากกว่าสิ่งที่ตะวันตกยัดเยียดมาให้ เพราะส่วนใหญ่อัดลักษณ์ดังกล่าวก็ถูกกำหนดขึ้น ด้วยค่านิยมแบบศักดินาที่กดขี่มอมเมาเอาเปรียบ เสมือนหนึ่งเป็นระบบ "อาณานิคมภายใน" เช่นกัน