ว่าง แผ่นดิน ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ กรุงแตก ในสามราชอาณาจักร
ขนบ ของแผ่นดินมีความหมายกว่ารูปแบบและธรรมเนียมการปกครอง เพราะที่จริงคือฐานของการแบ่งสรรอํานาจและทรัพยากรในสังคม ผู้นําของ ช่วงว่างระเบียบ คือคนหน้าใหม่ทางการเมือง (ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และไม่ใช่ ขุนนางระดับสูง) ย่อมเป็นธรรมดาที่จะไม่รื้อฟื้น ขนบ มากไปกว่าเพื่อให้ ความชอบธรรมแก่ระบอบปกครองของตน ในทางตรงกันข้าม ผู้ต่อต้านผู้นํา ใน ช่วงว่างขนบ ซึ่งสัมพันธ์กับชนชั้นนําเก่ามากกว่า ย่อมพอใจที่ ขนบ หรือฐานการแบ่งสรรอํานาจและทรัพยากรแบบที่ตนได้ประโยชน์จะถูกฟื้นฟู กลับคืนมา มากกว่า ช่วงว่างขนบ ที่ปล่อยให้คนไม่มี หัวนอนปลายตีน ขึ้นมากุมเอาทรัพยากรและอํานาจสูงกว่าไปเสียเอง
พญาทะละ, พระเจ้าตากสิน, และไตเซิน ต่างฟื้นฟูแบบธรรมเนียมของเดิม ที่เชื่อว่าเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งสิ้น ในขณะที่ราชวงศ์อลองพญา, ราชวงศ์จักรี และราชวงศ์เหงวียน ต่างก็ปรับเปลี่ยนแบบแผนธรรมเนียม ในระเบียบเก่า มากน้อยตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น